วันที่ 4ก.ค.

มุมมองของผมต่อบทความของฟรานซิส ฟูกุยามะ เรื่อง “ประเทศจีนมีระบอบการปกครองแบบใด”

บล็อกโดย Rolf ฟอน บัวเรน

ผมได้อ่านบทความของนักวิทยาศาสตร์การเมือง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักเขียนชาวอเมริกันที่ชื่อว่า ฟรานซิส ฟูกุยามะ ในเวปชื่อ The American Interest ผมว่าเป็นบทความที่ดีมากทีเดียว เพราะได้วิเคราะห์ประเด็นต่างๆที่สำคัญ แต่ผมก็ยังเห็นว่า คุณฟูกุยามะยังพลาดประเด็นสำคัญอีกข้อ คือทัศนคติของชาวจีนทั่วไป

พวกเราชาวตะวันตก รวมทั้งตัวคุณฟูกุยามะเอง เชื่อว่าความคาดหวัง มุมมอง และอารมณ์ของคนจะคล้ายคลึงกันทั่วโลก และสิ่งที่ทุกคนต้องการคือ “ประชาธิปไตย” (ซึ่งนิยามว่ายังไงก็อาจเถียงกันได้) และเราทุกคนต้องการอิสรภาพส่วนตัว และความฝันเช่นเดียวกับคนในโลกตะวันตก ด้วยความคิดเช่นนี้ คุณฟูกุยามะจึงเขียนบทความขึ้นมาจากมุมมองแบบยกตนข่มท่านของตะวันตก คือต้องการใช้ชาวจีนเป็นเหมือนเรา ชาวตะวันตก นั่นเอง

ชาวจีนนั้น เหมือนเราหรือไม่ ก็ทั้งเหมือนและไม่เหมือน เขามีค่านิยมเหมือนเราหลายอย่าง แต่เขาจัดลำดับความสำคัญไม่เหมือนเรา ซึ่งทำให้มองโลกต่างกันไป

ผมเคยอ่านหนังสือซึ่งเขียนโดยนักวิเคราะห์สังคมจีนนิกายเยซูอิต ชื่อว่า บาทหลวงลาซโล ลาดานี ที่ปรารภว่า ชาวตะวันตกเดินสูงเหนือพื้นดิน 100ม. ล่องลอยด้วยพลังแห่งศาสนา อารมณ์ และสิ่งยึดติดต่างๆ ชาวฮินดูเดิน 50ม.เหนือพื้นดิน ในขณะที่ชาวจีนเดินเท้าติดดิน ความคิดแบบนี้เองที่สื่อว่าทำไมคนจีนถึงมีมุมมองต่อชีวิต ต่อการเมือง และต่อโลก ที่แตกต่างจากคนอื่น

ค่านิยมต่างๆ มันต่างกันมากระหว่างโลกตะวันตกกับตะวันออก สหรัฐกับจีน ในซีกโลกตะวันตกนั้น ปัจเจกบุคคลมาเป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่ในประเทศจีน สังคมต้องมาก่อน ในประเทศจีนนั้น ประกาศิตสำหรับการปกครองประเทศจะถูกบันดาลโดยสวรรค์เป็นผู้มอบหมาย ใครก็ตามที่ต่อสู้เพื่อครองครองประกาศิตนี้จนชนะ ก็ได้สิทธิ์เป็นเจ้าผู้ครองประเทศ และต้องทำหน้าที่ตามที่ประชาชนคาดหมาย ความเชื่อนี้เอง ที่ทำให้คนจีนมองโลก และตีความสิ่งต่างๆ รอบตัว ต่างจากคนอื่น

เป็นเรื่องปกติที่วัฒนธรรมต่างๆ ล้วนส่งอิทธิพลถึงกันยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่โครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยธรรมชาติ โดยสงครามการสู้รบ การบุกรุก โดยประวัติศาสตร์ชาติตะวันตกและตะวันออก ทำให้เกิดความแตกต่างเชิงวัฒนธรรม และมักขัดกันตลอด ส่วนฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า เป็นตัวอย่างของดินแดนจีนที่วัฒนธรรมได้กลายพันธุ์ เนื่องจากการครอบครองดินแดนเป็นเวลานาน การถูกยึดพื่นที่ หรือความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมอื่น ทำให้วัฒนธรรมพื่นฐาน และมุมมองต่างๆ เลือนไปจากวัฒนธรรมของจีนแผ่นดินใหญ่

นโยบายของรัฐบาลจีนตลอดช่วง 1000 ปีที่ผ่านมานั้น มีราชสำนักต่างชาติเป็นผู้กำหนดร่วม 430 ปี กล่าวคือ จากประมาณ ค.ศ. 1206-1368 ประเทศถูกครอบครองโดยชาวมองโกล และปีค.ศ. 1644-1912 มีชาวแมนจูเป็นผู้ครองประเทศ ชาติพันธุ์ทั้งสองนี้ ได้ครองประเทศจีน และรับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมของจีนที่ล้ำเลิศกว่า แต่ยังคงรักษาภาษาของตน รวมทั้งวัฒนธรรมของราชสำนักของตนไว้ดังเดิม

เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ในขณะที่ประเทศจีนมีระบบราชการที่เก่าแก่มาก แต่ไม่เคยมีกระทรวงการต่างประเทศจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากชาวจีนไม่เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีกระทรวงดังกล่าว เพราะนักเดินทางทุกคนย่อมต้องแวะมาที่ “อาณาจักรกลาง” เพื่อแสดงความเคารพ และในช่วงแรกๆ กระทรวงการต่างประเทศต้องรับภาระจัดการกับทูตานุทูตที่ดื้อดึง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฏราชสำนัก หรือก้มหัวต่อจักรพรรดิ กระนั้นก็ตาม ก็ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีนโยบายต่างประเทศสักเท่าไหร่

แต่กลับมายังชาวมองโกลและแมนจูก่อน

ผมว่านี่คือสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในการดำเนินชีวิต บางส่วนรัฐเป็นผู้กำหนด อาทิ ความมั่นคง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื่นฐานต่างๆ ในขณะที่ชีวิตส่วนตัว จะถูกกำหนดโดยปรัชญาขงจื๊อ อาทิเรื่องการศึกษาของเด็ก สุขภาพ การค้าเสรีที่มีหลักประกันด้านการเงินที่มั่นคง (ซึ่งรัฐเป็นผู้กำหนด) กฏเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้ อาจคาบเกี่ยวและผสมผสานซึ่งกันและกันอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้เกิดมุมมองต่อรัฐที่ต่างกันออกไป รัฐยอมรับสิ่งที่ประชาชนทำได้เกือบทุกอย่าง เพียงแต่อย่าแหกกฏ และจงทำตามหน้าที่ก็เพียงพอ ส่วนประชาชนชาวจีนอาจคิดว่า “ฉันจะทำหน้าที่ของฉัน และหลับหูหลับตามองข้ามความผิดพลาดบางอย่างของรัฐได้ แต่อย่าคิดว่าฉันโง่เชียวนะ”

นักวิชาการบางคนบอกว่า ประเทศจีนในอดีต บริหารโดยระบบราชการที่เล็กที่สุดในโลก เช่นการเก็บภาษีท้องถิ่น มักทำโดยการรวมครัวเรือนเข้าด้วยกัน 100 ครัวเรือน และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ 1 คนจากกลุ่มนั้น ให้ทำหน้าเก็บภาษี โดยรัฐจะคอยจับจ้องว่าเจ้าหน้าที่ภาษีทั้งหลาย มีใครรวยผิดสังเกตในเวลาอันสั้นบ้าง ก็จะจัดการเสีย สิ่งนี้อาจจะมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และภาระทางการเงินนี้ก็กลายเป็นภาระที่หนักหน่วงของบริษัทเอกชนทีเดียว

Modernity has added the temptation to exert stricter control. No harm will happen to anybody if they go on with their own lives and business, and do not threaten the party and party rule, which is not a problem for most Chinese as they are busy with their own priorities anyway. Things change fast however, and online storms can stir things up, like the baby milk scandal of 2008 when the government failed to control the quality of essential products and received a storm of criticism. However, the Government reacted very quickly to rectify the situation and to reestablish the status quo between government and citizens.

รัฐจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ หากอำนาจและภาระหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมาย ถูกใช้อย่างที่ทุกนยอมรับได้ และชาวจึนสามารถทำมาหากินของตนเองไปโดยรัฐเข้ามายุ่งน้อยที่สุด

เราชาวตะวันตกยึดติดกับมุมมองแบบครอบงำความคิดคนอื่น ตามประวัติศาสตร์แห่งการล่าอาณานิคมที่ได้จารึกมาเป็นเวลาสองร้อยปี เราประกาศมุมมองของเราต่อชาวโลก และบังคับให้คนอื่นคิดและทำตาม ในหนังสือชื่อ Fire and Blood ของนักเขียนที่ชื่อ Enzo Traverso เขาบรรยายชาวยุโรปโดยใช้คำว่า “ภาพพจน์ของความโอหังและความต้องการครอบครองของชาวยุโรป” รวมทั้ง “ภารกิจทางประวัติศาสตร์ของผู้เป็นพาหะของความเจริญ” กล่าวคือ ชาวยุโรปมองตนเองว่าเป็นอารยธรรมที่ถูกคัดสรรแล้ว ว่าจะต้องส่งออกความนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่น

ผมแนะนำให้ไปฟัง Yukon Huang นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกันแห่งสถาบัน Carnegie Asia ใน You Tube เขาจะอธิบายด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันว่า สิ่งที่เราเรียกในซีกโลกตะวันตกว่า “ปัญญาพื้นฐาน” จะนำมาใช้ในประเทศจีนไม่ได้เลย และสิ่งที่เราเคยคิดเกี่ยวกันประเทศจีนก็ล้วนผิดทั้งนั้น แต่กระนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ผมได้ยินอยู่ทุกวี่ทุกวันทางโทรทัศน์

5 ความคิดเห็น

น่า สนใจ รอคอยที่จะเพิ่มเติม ขอให้สมหวังทุกอย่าง

เอ็ด

น่า สนใจ รอคอยที่จะเพิ่มเติม ขอให้สมหวังทุกอย่าง

เอ็ด

อ่านได้ดี คิดดีออกและจุดดีมากมายที่ทําให้รู้สึก

ปัญหาใหญ่ยังเป็นระบบการเมืองตะวันตกในปัจจุบันซึ่งสนับสนุนให้รวดเร็วและราคาถูกชอบที่จะได้รับความสนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากระยะยาววิสัยทัศน์สามารถดําเนินการมันจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างมาก

แมตต์เชาเชา

เรียน คุณวอน บัวเรน
ฉันขอขอบคุณที่คุณพยายามที่จะให้เข้าใจในความแตกต่างของความคิดตะวันตกและจีน แต่ฉันหาวิธีสํารวจของคุณอุดมคติเกินไป
ผมยอมรับว่าความคิดตะวันตกเป็นบุคคลมากขึ้นและรวมความคิดจีน อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าความคิดจีนไม่ถึงเท่าที่จะพิจารณาที่ดีของสังคม มิฉะนั้นสิ่งที่ต้องการมลพิษและสิทธิมนุษยชนจะ tackled โดยขณะนี้. ในช่วงเวลาของฉันในประเทศจีนฉันพบว่ามีไม่มากพิจารณาสําหรับสิ่งที่เกิดขึ้นนอกวงเวียนใกล้ชิดของครอบครัวและบางทีวงกลมขยายของเพื่อน ในขณะที่ในตะวันตกเราจะสอนให้เคารพแต่ละบุคคลและสิทธิในจีนมีการพิจารณาน้อยมากสําหรับคนแปลกหน้า (ยกเว้นที่มีอยู่แน่นอน) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาใจใส่สําหรับสัตว์เลี้ยง (ซึ่งมีความสําคัญต่อการพิจารณาสําหรับฉันยังอยู่ในบริบทนี้)
ใช่จีนได้แสดงความคืบหน้าและสังคมจีนก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้เกิดขึ้นโดยปราศจากการเสียสละกับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ผมเข้าใจว่าประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นประเทศจีนจะต้องมีการปกครองด้วยการควบคุมที่ค่อนข้างเข้มงวด อย่างไรก็ตามในความคิดของฉันลิดรอนของการเข้าถึงข้อมูลฟรีและการล้างสมองทั่วไปไม่ควรเป็นธรรม คนรุ่นใหม่จํา Tian An Men หรือไม่ทราบว่าจริงๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลพยายามเช็ดออกเหตุการณ์. และสิ่งที่เกิดขึ้นในฮ่องกงในขณะนี้ (ที่อยู่อาศัยปัจจุบันของฉัน) เบื้องต้นของกฎหมายรักษาความปลอดภัยเป็นการละเมิดของประเทศหนึ่งกฎหมายสองระบบ และ 2 ล้านคน (ชาวจีน) พาไปถนนเพื่อแสดงความไม่พอใจเป็นเวลา 6 เดือน พวกเขาถูกเพิกเฉยเพียง ดังนั้นเราจะปรับการกระทํานี้อย่างไร พวกเขาเห็นแก่ตัวชาวจีนที่ไม่พิจารณาดีเป็นของสังคมจีนที่ใหญ่กว่า? หรือพวกเขาอาจจะเข้าใจผิดจีนเพราะพวกเขาต้องการประชาธิปไตย? อ่านข้างต้นผมคิดว่าเป็นคําอธิบาย พวกเขาได้รับภายใต้กฎอังกฤษนานเกินไปซึ่งทําให้พวกเขาคิดแปลก ถึงเวลาแก้ไขพฤติกรรมของพวกเขา และหากพวกเขาไม่เต็มใจก็ควรบังคับ เพราะในที่สุดมันจะดีสําหรับตัวเองมากขึ้น

แอนน์-คริสติน วอดูร์

บล็อกที่น่าสนใจ

เอนโซ ลิเวอร์ริโน่

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะเผยแพร่